 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบแกะสลักไม้ |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบแกะสลักไม้
นักวิจัย
ประไพศรี กาบมาลา, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, และ นงคราญ วิเศษกุล
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
แนวคิดด้านการพยาบาลอาชีวอนามัยของโรเจอร์ส (Rogers, 2003)
เครื่องมือ
แบบสัมภาษณ์การสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบแกะสลักไม้ จำนวน 48 ข้อ คำนวณหาค่าดัชนีความตรงตามของเนื้อหารายข้อ (item-level content validity index [I-CVI]) ได้เท่ากับ 0.99 และหาค่าความตรงของเนื้อหาเครื่องมือทั้งฉบับ (scale-level content validity index [S-CVI]) ได้เท่ากับ 0.99 ทดสอบความเชื่อมันโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา
ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .72
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบแกะสลักไม้ จำนวน 27 ข้อ คำนวณหาค่าดัชนีความตรงตามของเนื้อหารายข้อ (item-level content validity index [I-CVI]) ได้ 0.99 และหาค่าความตรงของเนื้อหาเครื่องมือทั้งฉบับ (scale-level content validity index [S-CVI]) ได้ 0.99 ทดสอบความเชื่อมันของแบบสัมภาษณ์โดยใช้สัมประสิทธิ์คูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 (Kuder-Richardson 20 [KR20]) ได้เท่ากับ 0.83
- เครื่องมือชุดที่ 3
แบบประเมินส่วนของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว (Rapid Entire Body Assessment [REBA]) ทดสอบความเชื่อมั่นของการสังเกต (interrater - reliability) ได้เท่ากับ 1.0
กลุ่มตัวอย่าง
คนงานแกะสลักไม้ ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำนวน 294 คน
แหล่งข้อมูล
พยาบาลสาร ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2556
|
|