 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ
นักวิจัย
กาญจนา วิเชียรประดิษฐ์, ทะนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, และ ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
แนวคิดของปามเมอร์ คูเปอร์ และโทมัส (Model of Work Stress; Palmer, Cooper & Thomas, 2004) พัฒนามาจากแนวคิดความเครียดโดยทั่วไปที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงาน
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสอบถามการวัดความวิตกกังวลต่อการเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.89 จำนวน 17 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นแบบสอบถามที่มีการประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับ ตามแบบลิเกิร์ต (likert)
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสอบถามการวัดความเครียดจากการทำงานมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.92 จำนวน 17 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นแบบสอบถามที่มีการประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับตามแบบลิเกิร์ต (likert)
กลุ่มตัวอย่าง
พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ จำนวน 376 คน
แหล่งข้อมูล
การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556
|
|