 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความพึงพอใจในงานของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความพึงพอใจในงานของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่
นักวิจัย
อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์, สุรินธร กลัมพากร, และ สุนีย์ ละกำปั่น
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
กรอบแนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสอบถามมาตรฐานของแนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล (Effort-Reward Imbalance Questionnaire: ERIQ) ประกอบด้วย 3 ตัวแปรหลักคือ การทุ่มเทในการทำงาน (effort) 6 ข้อ ผลตอบแทนจากงาน(reward) 11 ข้อ และความมุ่งมั่นที่มากเกินไปต่องานที่รับผิดชอบ (over commitment) 6 ข้อ รวม 23 ข้อ การตอบของการทุ่มเทในการทำงานและผลตอบแทนจากงานแบ่งเป็น 5 ระดับ ทดสอบค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาชแอลฟาได้ 0.89
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสอบถามอาการเจ็บป่วยทางกาย (Common Symptoms in the General Population of Women: CSPG scale) จำนวน 15 ข้อ การตอบแบ่งเป็น 3 ระดับ ทดสอบค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาชแอลฟาได้ 0.93
- เครื่องมือชุดที่ 3
แบบสอบถาม Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HAD scale) เพื่อใช้ประเมินปัญหาภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า จำนวน 14 ข้อ ทดสอบค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาชแอลฟาได้ 0.85 และ 0.79 สำหรับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ตามลำดับ
- เครื่องมือชุดที่ 4
แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน (Minnesota Satisfaction Questionnaire:MSQ) จำนวน 20 ข้อ ทดสอบค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาชแอลฟาได้ 0.86
กลุ่มตัวอย่าง
พนักงานที่ทำงานเต็มเวลา จำนวน 417 คน จากโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
แหล่งข้อมูล
วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555; 42(1): 5-17
|
|