 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
นักวิจัย
วารุณี ตั้งสถาเจริญพร, ธานี แก้วธรรมานุกูล, และ อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
แนวคิดความสามารถในการทำงานของ อิลมาริเนน (Ilmarinen, 2009b) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสอบถามความสามารถในการทำงาน ประเมินโดยใช้แบบสอบถาม ดัชนีชี้วัดความสามารถในการทำงาน (Work Ability Index [WAI]) ลักษณะคำตอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 4 ระดับค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (validity) ของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.99 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (validity) ของแบบสอบถาม มีค่าอยู่ในช่วง 0.99- 1.00 (ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลเท่ากับ ปัจจัยด้านการ ทำงาน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก เท่ากับ 0.99, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ) และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกเท่ากับ 0.91, 0.90, 0.81 ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่าง
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในทุกแผนกการพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 406 ราย
แหล่งข้อมูล
พยาบาลสารปีที่ 39 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2555
|
|