 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพ |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพ
นักวิจัย
นุชนารถ กันธิยะ
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
หลักแนวคิดด้านวิทยาการระบาดอาชีวอนามัยโดยเฉพาะความเสี่ยงในการทำงานจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสอบถามปัจจัยด้านกายภาพ
ประกอบด้วยข้อคําถามเกี่ยวกับงานที่ต้องออกแรงมาก การทํางานซ้ำๆ และท่าทางการทํางานที่ไม่เหมาะสม ทั้งหมดจํานวน 9 ข้อ ลักษณะคําตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 3 ระดับ คำนวณหาดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index [CVI]) ได้เท่ากับ 0.91 คำนวณหาความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) ของแบบสัมภาษณ์โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสอบถามปัจจัยด้านจิตสังคม
ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับข้อเรียกร้องจากงาน จำนวน 23 ข้อ การควบคุมกำกับงาน จำนวน 6 ข้อ และการสนับสนุนทางสังคม จำนวน 6 ข้อรวมทั้งหมดจำนวน 35 ข้อ ลักษณะคำตอบป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 4 ระดับ คำนวณหาดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index [CVI]) ได้เท่ากับ 0.96 คำนวณหาความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) ของแบบสัมภาษณ์โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83
กลุ่มตัวอย่าง
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤต แผนก อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยอายุรกรรมและศัลยกรรมในโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 100 เตียงขึ้นไป จำนวน 6 แห่ง จำนวน 284 คน
แหล่งข้อมูล
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมษายน 2552
|
|