หน้าแรก เกี่ยวกับเรา สารจากคณบดี คณะกรรมการ เครือข่าย ติดต่อเรา ข่าวกิจกรรม ฐานข้อมูลเครื่องมือวิจัยด้านอาชีวอนามัย
 

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนทำงานภาคเหนือ  

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนทำงานภาคเหนือ

Center for Occupational Health and Safety for Workers in the Northern Region
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในคนทำงานภาคเหนือ


ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย
• งานวิจัยทั้งหมด
• ความเครียดจากการทำงาน
• ความสุขในการทำงาน
• ความพึงพอใจในงาน
• การบาดเจ็บของโครงร่างและกล้ามเนื้อ
• ความสามารถในการทำงาน
• พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
• ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน
• พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
• คุณภาพชีวิตในการทำงาน



แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน




สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
ทำแบบประเมิน



 

ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา




ชื่อเรื่องวิจัย

ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา

นักวิจัย

รุ้งกานต์ พลายแก้ว

กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ

หลักแนวคิดด้านวิทยาการระบาดอาชีวอนามัยโดยเฉพาะความเสี่ยงในการทำงานจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ

เครื่องมือ

- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสัมภาษณ์ท่าทางการทำงาน สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม จำนวน 18 คำนวณหาดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือทั้งชุด (scale-level content validity index [S-CVI]) ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 ทดสอบค่าความความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์
คูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (The Kuder-Richardson 20 [KR20]) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80

- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสัมภาษณ์กลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพัชริน พรมอนันต์ (2549) ที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามมาตรฐานนอร์ดิก (Standardized Nordic Questionnaire) ของ คูรินกา และคณะ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index [CVI]) เท่ากับ 0.92

- เครื่องมือชุดที่ 3
แบบประเมินส่วนของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว (Rapid Entire Body Assessment [REBA]) ทดสอบความเชื่อมั่นของการสังเกตกับ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์ (inter-rater reliability) โดยไปใช้สังเกตผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา จำนวน 5 ราย นำคะแนนที่ได้จากการสังเกตท่าทางการทำงานของผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์มาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตท่าทางการทำงาน ได้เท่ากับ
1.0

กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพาราที่ปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนของการผลิตยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 235 ราย

แหล่งข้อมูล

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิงหาคม 2554







สงวนสิทธิ์ข้อมูลทั้งหมดภายในเว็บไซต์นี้โดย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนทำงานภาคเหนือ
© Center for Occupational Health and Safety for Workers in the Northern Region
E-mail: cohsn.fon@gmail.com