 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของรยางค์ส่วนบนในผู้ประกอบอาชีพกรีดยางพารา |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของรยางค์ส่วนบนในผู้ประกอบอาชีพกรีดยางพารา
นักวิจัย
พรทิพย์ ใจจง
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบประเมินความเครียดใช้แบบสัมภาษณ์ประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข (srithanya stress scale-5) มีจำนวน 5 ข้อเป็นเครื่องมือมาตรฐาน มีค่า Cronbrach’s alpha เท่ากับ 0.85
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสัมภาษณ์การรับรู้การสัมผัสปัจจัยเสี่ยงด้านลักษณะการทำงาน คำนวณหาดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index [CVI]) เท่ากับ 0.94และหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค(Cronbach’s alpha coefficient)ได้เท่ากับ 0.89
- เครื่องมือชุดที่ 3
แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของรยางค์ส่วนบน คำนวณหาดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index [CVI]) เท่ากับ 0.90
- เครื่องมือชุดที่ 4
แบบสังเกตปัจจัยเสี่ยงด้านลักษณะการทำงานซํ้า ๆ เดิมของรยางค์ส่วนบน (ART tool) ไปทำการหาความเชื่อมั่นโดยเปรียบเทียบผลการสังเกตของผู้วิจัยกับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในผู้กรีดยางพาราจำนวน 5 ราย คำนวณหาความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater reliability) ได้ค่าเท่ากับ 1
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ประกอบอาชีพกรีดยางพาราที่ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่สุ่มจากประชากรจำนวน 209 ราย
แหล่งข้อมูล
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา สิงหาคม 2557
|
|