 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดระยอง |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดระยอง
นักวิจัย
ศิริขวัญ ศรีสมศักดิ์
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ ถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่ออันตรายจากการทำงาน การรับรู้ความรุนแรงต่ออันตรายจากการทำงาน และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย จำนวน 24 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์
ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าดังนี้
- แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ 0.86
- แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยง 0.85
- แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรง 0.91
- แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ 0.93
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันอันตราย ถามเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย จำนวน 20 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 4 ระดับ และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.86
กลุ่มตัวอย่าง
พนักงานแผนกการผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง จำนวน 528 คน
แหล่งข้อมูล
ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สิงหาคม 2557
|
|