 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
การรับรู้ภาวะเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นและพฤติกรรมการป้องกันของคนงานโรงงานเซรามิค |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
การรับรู้ภาวะเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นและพฤติกรรมการป้องกันของคนงานโรงงานเซรามิค
นักวิจัย
รัตตินันท์ โภควินภูดิสนันท์
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
แนวคิดทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยร่วมกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสัมภาษณ์ข้อมูลการรับรู้ภาวะเสี่ยงอันตรายจากฝุ่น จำนวน 18 ข้อ ลักษณะคําถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ คำนวณค่าดัชนีความตรงด้านเนื้อหา (content validity index [CVI])ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.93 และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.87
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพฤติกรรมการป้องกันฝุ่นซิลิกาของคนงานโรงงานเซรามิก สร้างขึ้นโดยใช้แนวทางการป้องกันฝุ่นซิลิกาของสมาคมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety & Health Administration [OSHA], 2002) จำนวน 16 ข้อ ลักษณะคําถามเป็นแบบ
มาตรส่วนประมาณค่า (rating scale) 3 ระดับ คำนวณค่าดัชนีความตรงด้านเนื้อหา (content validity index [CVI]) ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.93 และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.72
กลุ่มตัวอย่าง
คนงานที่ทำงานอยู่ในกระบวนการผลิตเซรามิกของโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงงาน จำนวน 357 คน
แหล่งข้อมูล
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2551
|
|