 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี
นักวิจัย
กรวิกา หาระสาร และ จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัย ทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานจำนวน 14 ข้อ ลักษณะคำตอบ 3 ตัวเลือก หาค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.88
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 37 ข้อ ลักษณะคำตอบให้เลือก 3 คำตอบ หาค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.88
- เครื่องมือชุดที่ 3
แบบสัมภาษณ์ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากการทำงาน จำนวน 15 ข้อ ลักษณะคำตอบให้เลือก 3 คำตอบ หาค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.88
กลุ่มตัวอย่าง
พนักงานที่ปฏิบัติในฝ่ายผลิตโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 181 คน
แหล่งข้อมูล
วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2558
|
|