 |
ฐานข้อมูลเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย |
|
|

แบบประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงาน |

สำหรับประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถป้องกัน และจัดการปัญหาสุขภาพจากการทำงานในอาชีพของท่านได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้บ้านท่านได้
|
|
|

|
|
การศึกษาการรับรู้ทัศนคติที่มีต่อการจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในกลุ่มฟูจิคูระประเทศไทย |
 |

ชื่อเรื่องวิจัย
การศึกษาการรับรู้ทัศนคติที่มีต่อการจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานในกลุ่มฟูจิคูระประเทศไทย
นักวิจัย
พิภพ โลกคำลือ
กรอบแนวคิด/ที่มาของเครื่องมือ
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานและจากการทบทวนวรรณกรรม
เครื่องมือ
- เครื่องมือชุดที่ 1
แบบวัดระดับการรับรู้ด้านการจัดการความปลอดภัยในโรงงาน จำนวน 25 ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิด ถูก-ผิด ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของ Kuder– Richardson สูตร KR20 เท่ากับ 0.83
- เครื่องมือชุดที่ 2
แบบวัดทัศนคติต่อการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 20 ข้อ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประเมินค่า (rating scale) ของลิเคิร์ท แบ่งเป็น 5 ระดับ และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.85
- เครื่องมือชุดที่ 3
แบบวัดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานมีคำถามทั้งหมด 20 ข้อ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประเมินค่า (rating Scale) ของลิเคิร์ท แบ่งเป็น 5 ระดับ และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.88
กลุ่มตัวอย่าง
พนักงานบริษัท ฟูจิคูระในประเทศไทย จำนวน 40 คน
แหล่งข้อมูล
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมความปลอดภัย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2549
|
|